จป.หัวหน้างาน จริงแล้วก็ คือ หัวหน้างานทั่วๆ ไป ซึ่งกฎหมายความปลอดภัย กำหนดให้หัวหน้างานนั้นจะต้องคอยกำกับดูแลลูกน้องในด้านความปลอดภัย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และควบคุมให้พนักงานในสังกัดทุกคน สวมใส่อุปกรณ์ PPE ตลอดเวลาการทำงาน วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ จป.หัวหน้างาน ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง
หน้าที่ของ จป.หัวหน้างานตามกฎหมาย หลังจากผ่านการ อบรม จป.หัวหน้างาน
- กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
- กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย
กฎหมายอ้างอิง กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างาน ?
ตามที่กระทรวงแรงงานได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
ประเภทกิจการหรือสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายบังคับ กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้แก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
- การทําเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
- การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
- การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เ รือ สะพานเทียบเรือทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
- การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
- สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
- โรงแรม
- ห้างสรรพสินค้า
- สถานพยาบาล
- สถาบันทางการเงิน
- สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
- สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
- สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
- สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๒
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด
นอกเหนือจาก จป.หัวหน้างาน หากท่านใดที่มีความสนใจที่จะอบรม จป.บริหาร สามารถติดต่อเราหรือดูรายละเอียดได้ทางเว็ป Jorporthai.com