รู้หรือไม่ หากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้านการยศาสตร์ จะเกิดอันตรายอย่างไร
- อันตรายต่อเอ็น และกล้ามเนื้อ
- อันตรายต่อข้อต่างๆ
- อันตรายต่อเส้นประสาท
- อันตรายต่อเส้นเลือด
ลักษณะท่าทางการทำงาน
มือและข้อมือ
ท่าทางที่เหมาะสม วางมือในแนวราบเป็นเส้นตรง
ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
2) การงอมือและนิ้วห้อยลงด้านหน้า
3) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านหัวแม่มือ
4) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านนิ้วก้อย
5) การหมุนมือและแขนแบบหมุนออกทางด้านนิ้วก้อย
6) การหมุนมือและแขนแบบหมุนเข้าทางด้านนิ้วก้อย
แขนและไหล่
ท่าทางที่เหมาะสม ช่วงหัวไหล่และท่อนแขนในขณะทำงานควรจะระนาบและตั้งฉากกับลำตัวท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
2) แขน หรือไหล่เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของลำตัว
3) เหยียดแขนตรงออกไปด้านข้างของลำตัว
4) งอแขนเข้าหาลำตัว
คอและหลัง
ท่าทางที่เหมาะสม ในขณะยืนหรือนั่ง กระดูกสันหลังจะต้องโค้งเว้าตามธรรมชาติ
ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
2) การบิดเอี้ยวลำตัวตรงกระดูกส่วนเอว
3) การเอียงลำตัวไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง
4) การเอียงคอไปทางด้านข้าง
5) การก้มเงยคอไปมา
6) การหันหน้าไปมา
เข่าและขา
ท่าทางที่เหมาะสม
ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
2) ยืนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานาน
การยืนและนั่งทำงานอย่างถูกวิธี
การออกแบบสถานที่ทำงาน ควรออกแบบให้พนักงานทุกคนทำงานได้สะดวก แม้ว่าขนาดร่างกายและรูปร่างของแต่ละคนจะแตกต่างกัน และควรจัดที่รองเท้าเพื่อช่วยในการปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับลักษณะงานนั้น
ลักษณะงานที่แตกต่างกัน ระดับความสูงของที่ทำงาน หรืองานย่อมต่างกันไปด้วย
- งานละเอียด เช่น งานเขียน หรืองานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ควรจัดระดับความสูงของงานให้สูงกว่าความสูงระดับข้อศอกพนักงาน 5 เซนติเมตร และควรจัดให้มีที่หมุนหรือที่รองข้อศอก
- งานเบา เช่น งานประกอบชิ้นงาน หรืองานเครื่องจักรกล ควรจัดระดับความสูงของงานให้ต่ำกว่าความสูงระดับข้อศอก ประมาณ 5-10 เซนติเมตร
- งานหนัก หรืองานที่ต้องออกแรงกด ควรจัดระดับความสูงของงานให้ต่ำกว่าความสูงระดับข้อศอก 20-40เซนติเมตร
ข้อควรปฏิบัติ
- ปรับระดับความสูงของงานให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ความสูงระดับข้อศอกเป็นหลัก
- จัดสภาพงานที่ต้องทำอยู่เสมอให้อยู่ในระดับที่หยิบจับได้ง่าย สะดวกและเหมาะสม
- หันชิ้นงานเข้าหาตัว
- ให้ร่างกายอยู่ใกล้ชิ้นงาน
- จัดพื้นที่ทำงานให้กว้างพอสำหรับการเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างปฏิบัติงาน
- ใช้ที่พักเท้าหรือที่วางเท้าหรือให้น้ำหนักของร่างกายไปยังขาข้างใดข้างหนึ่ง
- หากเป็นไปได้ควรจัดที่นั่ง
ข้อห้าม
- ห้ามเอี้ยวหรือบิดตัวไปปฏิบัติงานด้านหลังหากจำเป็นควรหันไปหาชิ้นงานทั้งตัว
- ห้ามเอื้อมไปปฏิบัติงานเกินขอบเขตพื้นที่ทำงานปกติ
- ห้ามเอื้อมไปปฏิบัติงานสูงเกินระดับไหล่ผู้ปฏิบัติงาน
การยืน หรือการนั่งทำงานตลอดเวลาก่อให้เกิดความไม่สบายและความเมื่อยล้า การเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถบ่อยๆ เช่น การนั่งสลับกับการยืนจะช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดความเมื่อยล้า
สถานที่ทำงานสำหรับงานนั่ง / ยืน
- ปรับสถานที่ทำงานให้มีความสูงที่เหมาะสม
- ใช้เก้าอี้หมุนซึ่งปรับความสูงของที่นั่งได้
- ปรับที่นั่งให้มีระดับต่ำกว่างานที่ทำอยู่ 25 – 35 เซนติเมตร
- ใช้ที่พักเท้าที่มีความสูง 40 – 50 เซนติเมตร
สถานที่ทำงานแบบครึ่งวงกลม
- จัดให้ทำงานแบบครึ่งวงกลม
- ใช้เก้าอี้หมุนเพื่อ
- ลดการบิดตัวของผู้ปฏิบัติงาน
- ลดการเคลื่อนไหวด้านข้าง
- หากเป็นไปได้ใช้พื้นผิวงานที่มีความลาดเอียงเพื่อ
- ลดการโก้งโค้งทำงาน
- เพื่อช่วยให้ปฏิบัติงานสะดวกยิ่งขึ้นขณะนั่งหรือยืน
เก้าอี้สำหรับนั่ง / ยืนทำงาน
- ที่นั่งควรมีความกว้างอย่างน้อย 40 เซนติเมตร
- เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
- ที่นั่งไม่ควรหุ้มด้วยวัสดุที่ลื่นหรือแข็ง
- เลือกเบาะที่นั่งที่มีความหนา 2- 3 เซนติเมตร
- ควรจัดให้คนงานสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในท่านั่งและยืน
- สำหรับพื้นที่ที่จำกัด ควรใช้เก้าอี้ชนิดพับเก็บได้
- เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง
- จัดให้มีเก้าอี้นั่งพัก แม้ลักษณะงานนั้นจะต้องยืนปฏิบัติงานตลอดเวลา
วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
1. มือและข้อมือ
ท่าทางปกติในขณะทำงาน
- มือและข้อมืออยู่ในแนวตรงคล้ายการจับมือทักทาย
- ควรปรับระดับความสูงของตำแหน่งวางชิ้นงานให้เหมาะสม กับตำแหน่งการวางมือและข้อมือ
- ควรวางชิ้นงานตรงหน้าโดยตรง
- หากมีการเคลื่อนที่ของชิ้นงานในขณะทำงาน ควรสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมือ
การทำงานซ้ำๆ กัน
- หลีกเลี่ยงการออกแรงทำงานของมือเดิมซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน
- ควรมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของมือและข้อมือไปมา
- ควรสลับเปลี่ยนชิ้นงานที่ต้องทำให้หลากหลายหากต้องทำงานใดเป็นเวลานานๆ
- ถ้าเป็นไปได้ควรมีการสลับหน้าที่การทำงานกันบ้าง
การออกแรงจับถือ
- ลดการออกแรงจับถือชิ้นงานโดยการใช้ทั้งมือจับ
- หลีกเลี่ยงการจับถือสิ่งของที่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป
- ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งสองมือทำงานประสานร่วมกัน
- ใช้วิธีการลากหรือเลื่อนสิ่งของแทนที่จะใช้วิธีการจับขึ้นในแนวดิ่ง
การใช้ถุงมือและมือจับ
- พิจารณาขนาดและตำแหน่งของมือจับให้รู้สึกถนัดกระชับ
- ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดพอเหมาะกับมือ
- ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่บีบรัดการไหลเวียนเลือด
การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
- พยายามหลีกเลี่ยงการงอบิดของข้อมือบ่อยครั้งเกินไป
- พยายามลดการออกแรงกดที่ไม่จำเป็น
- ดูแลรักษาเครื่องมือให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
- ใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของมือในการใช้เครื่องมือ
2. แขนและไหล่
ท่าทางปกติ
- ควรรักษาระดับของไหล่และแขนให้อยู่ในท่าทางปกติ คือ ในระดับของการจับมือทักทายกัน
- ข้อศอกควรอยู่แนบกับลำตัว
- ข้อศอกควรอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับที่รองรับน้ำหนักในการทำงานของท่อนแขน
การเอื้อมจับ
- พยายามลดความถี่ในการที่จะต้องยื่นแขนออกไปจับวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน
- พยายามลดการที่ต้องยกแขนหรือไหล่ในการเอื้อมมือไปจนสุดเอื้อม
การเคลื่อนไหวในขณะทำงาน
- ใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการยกหรือโยนชิ้นงานขึ้นเหนือศีรษะ
- ใช้วิธีการวางชิ้นงานลงเมื่อทำเสร็จ แทนการออกแรงโยน
การคงท่าเดิมขณะทำงาน
- หลีกเลี่ยงการทำงานท่าเดิมโดยตลอด
- ใช้วิธีการหมุนเปลี่ยนงานที่ทำ
- ใช้เครื่องมือช่วยในการจับวัสดุอุปกรณ์หรือชิ้นงานในขณะทำงาน
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนเพื่อให้เกิดการคลายตัว
3. คอและหลัง/ การทำงานในท่านั่ง
ท่านั่งปกติในขณะทำงาน
- นั่งทำงานในท่าทางที่การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้รูปทรงตามธรรมชาติ
- ใช้เก้าอี้ที่ปรับได้
- ถ้าจำเป็นควรใช้ที่รองเท้ารับน้ำหนัก
การเอื้อมหยิบ
- ควรจัดให้วัสดุอุปกรณ์อยู่ในรัศมีที่หยิบจับได้ง่าย
- ควรยืนขึ้นหยิบจับสิ่งของมากกว่าการเอื้อมมือไปหยิบ
การรักษาสภาพสมดุลในขณะนั่ง
- ควรเปลี่ยนท่านั่งเป็นครั้งคราว สม่ำเสมอ
- ควรใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงเต็มที่
- ใช้วิธีการบริหารร่างกายเข้าช่วย
4. การทำงานในท่ายืน
ท่าปกติของการยืนทำงาน
- ยืนทำงานในท่าที่กระดูกสันหลังจัดเรียงตามธรรมชาติ
- ปรับระดับพื้นที่การทำงานให้มีความสูงเหมาะสมกับส่วนสูงของคนทำงาน
- ใช้ที่รองขายกตัวขึ้น หากพื้นที่ทำงานอยู่สูงเกินไป
- จัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำงานให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงโดยสะดวก
- ใช้ที่รองขาหากต้องเอื้อมจับสิ่งของที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ
- หลีกเลี่ยงการโค้งงอตัวลงในการทำงาน
- หากชิ้นงานอยู่ในระดับต่ำ ควรคุกเข่าหรือนั่งลงทำงาน แทนการโค้งงอหลังลงทำงาน
การรักษาสมดุลในการยืน
- ควรมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่ายืนไปมา
- ใช้รองเท้าที่มีส่วนรองรับน้ำหนักอย่างเหมาะสมกับลักษณะของเท้า
- ใช้ยกพื้นเพื่อยกขาขึ้นพักขณะยืนทำงานเป็นเวลานาน
- ใช้วิธีการบริหารเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
เข่าและขา
- หลีกเลี่ยงการคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานานในขณะทำงาน
- ถ้าเป็นไปได้ควรยกวัสดุชิ้นงานขึ้นมาในระดับที่จะทำให้สามารถยืนทำงานได้สะดวก
- ใช้แผ่นรองหัวเข่า หากจำเป็นต้องคุกเข่าทำงาน