หัวข้อการอบรมหลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ 4 ผู้ตามที่กฎหมายกำหนด
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ข้อ 20
กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ แก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อาทิ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
กอปรกับให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศทุก 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ก่อนครบกำหนด 5 ปี เว้นแต่กรณีที่เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศนี้มีผลบังคับใช้
คุณสมบัติของผู้สมัคร
2. ผู้เข้าอบรมแสดงหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ
ระยะเวลาในการอบรม
1. ผู้อนุญาต ผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุมงานและผู้ปฏิบัติ 4 วัน (ภาคทฤษฎี และ ภาคปฎิบัติ)
2. ทบทวนการทำงานในที่อับอากาศ ครึ่งวัน (ภาคทฤษฎี)
หลักสูตรผู้อนุญาต
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าเจ็ดชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมหนึ่งวัน ดังนี้
ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมห้าชั่วโมง
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
หลักสูตรผู้ควบคุม
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงโดย จัดฝึกอบรมสองวันต่อเนื่องดังนี้
ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมเก้าชั่วโมง
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที
- การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
- การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
หลักสูตรผู้ปฎิบัติงาน
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสองวันต่อเนื่อง ดังนี้
ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมเก้าชั่วโมง
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
- สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่ชั่วโมง
หลักสูตรผู้ช่วยเหลือ
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสามวันต่อเนื่อง ดังนี้
ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
- การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
- การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง
ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า หนึ่งชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสี่วันต่อเนื่อง ดังนี้
ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบห้าชั่วโมง
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
- การสั่งให้หยุดทางานชั่วคราว สามสิบนาทีก
- การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
- อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
- การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
- การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง
- เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
- การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หนึ่งชั่วโมง
ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า หนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
- การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สี่สิบห้านาที
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
- การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
- สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมเฉพาะภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยในหัวข้อวิชาดังนี้
- กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
- ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ
- การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
- วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
- การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ และอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ
- ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
นายจ้างจะต้องจัดอบรมที่อับอากาศให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศตามหัวข้อที่กล่าวมาโดยการจัดอบรมนั้นจะมี 2 แบบคือ
- แบบหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการ
- จัดอบรมแบบอินเฮ้าส์โดยนายจ้างเอง
บทความที่น่าสนใจ :
- มาตรฐาน BS EN 12845 การออกแบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ
- ขั้นตอนการตรวจสอบและทดสอบเครนโรงงาน ก่อนการใช้งานจริง
- องค์ประกอบการลุกติดไฟ
- หน้าที่ จป.หัวหน้างาน มีหน้าที่อะไรบ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
- จป.หัวหน้างาน ควรมีการพูดคุยความปลอดภัยก่อนเริ่มทำงานประจำวันอย่างไร
- ความปลอดภัยในการใช้บันได
- ตัวอย่าง SDS เอกสารแสดงข้อมูลสารเคมีที่ดี เป็นอย่างไร?