Home » หลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ 4 ผู้ ตามกฎหมายเรียนอะไรบ้าง

หลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ 4 ผู้ ตามกฎหมายเรียนอะไรบ้าง

by April Craig
1.3K views
1.หลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ 4 ผู้ ตามกฎหมายเรียนอะไรบ้าง

หัวข้อการอบรมหลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ 4 ผู้ตามที่กฎหมายกำหนด

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ข้อ 20

กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ แก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อาทิ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

กอปรกับให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศทุก 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ก่อนครบกำหนด 5 ปี เว้นแต่กรณีที่เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศนี้มีผลบังคับใช้

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. ผู้เข้าอบรมต้องแสดงหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม (รายบุคคล) ของหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น ที่ออกโดยหน่วยฝึกหรือหน่วยงานราชการ
2. ผู้เข้าอบรมแสดงหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ

ระยะเวลาในการอบรม

1. ผู้อนุญาต ผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุมงานและผู้ปฏิบัติ 4 วัน (ภาคทฤษฎี และ ภาคปฎิบัติ)
2. ทบทวนการทำงานในที่อับอากาศ ครึ่งวัน (ภาคทฤษฎี)

หลักสูตรผู้อนุญาต

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าเจ็ดชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมหนึ่งวัน ดังนี้

ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมห้าชั่วโมง

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย สามสิบนาที
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที
  • ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
  • บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที

ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง

  •  เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  • เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

หลักสูตรผู้ควบคุม  

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงโดย จัดฝึกอบรมสองวันต่อเนื่องดังนี้

ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมเก้าชั่วโมง

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
  • บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที
  • การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  • เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
  • การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง

ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง

  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  • เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  • สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที

หลักสูตรผู้ปฎิบัติงาน

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสองวันต่อเนื่อง ดังนี้

2.หลักสูตรผู้ปฎิบัติงาน โดยจัดฝึกอบรมสองวันต่อเนื่อง ดังนี้

ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมเก้าชั่วโมง

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  • บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง

ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง

  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
  • สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่ชั่วโมง

หลักสูตรผู้ช่วยเหลือ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสามวันต่อเนื่อง ดังนี้

ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
  • บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  • อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
  • การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
  • การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง

ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง

  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า หนึ่งชั่วโมง
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สามสิบนาที
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  • การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  • การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  • สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ

3.หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรมสี่วันต่อเนื่อง ดังนี้

ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมสิบห้าชั่วโมง

  1. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  2. ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  3. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  4. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง
  5. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  6. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย สามสิบนาที
  7. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  8. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  9. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง
  10. การสั่งให้หยุดทางานชั่วคราว สามสิบนาทีก
  11. การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ สามสิบนาที
  12. อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย หนึ่งชั่วโมง
  13. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต หนึ่งชั่วโมง
  14. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) สองชั่วโมง
  15. เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย หนึ่งชั่วโมง
  16. การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หนึ่งชั่วโมง

ภาคปฏิบัติต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าเก้าชั่วโมง

  1. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  2. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า หนึ่งชั่วโมง
  3. เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  4. เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
  5. การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  6. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่า สี่สิบห้านาที
  7. การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาที
  8. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  9. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
  10. สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมเฉพาะภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยในหัวข้อวิชาดังนี้

  1. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
  2. ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ
  3. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
  4. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
  5. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ และอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ
  6. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน ในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย
  7. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

นายจ้างจะต้องจัดอบรมที่อับอากาศให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศตามหัวข้อที่กล่าวมาโดยการจัดอบรมนั้นจะมี 2 แบบคือ

  1. แบบหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการ
  2. จัดอบรมแบบอินเฮ้าส์โดยนายจ้างเอง

 

บทความที่น่าสนใจ :

เรื่องที่เกี่ยงข้อง

CONCEPTOCOMUNICACION

เว็บไซต์รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ที่ครอบคลุมทุกระดับความรู้

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by Conceptocomunication