การเกิดไฟ ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ทฤษฎีการเกิดไฟ “ไฟ” เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันคือ “การเผาไหม้” นั่นเอง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาร่วมระหว่างองค์ประกอบ 3 สิ่ง คือ
- เชื้อเพลิง (Fuel)
- ออกซิเจน (Oxygen)
- และความร้อน (Heat)
ในสภาวะที่เหมาะสมแล้วให้พลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง
นอกเหนือจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้วจะต้องมี ปฏิกิริยาลูกโซ (Chain Reaction) ของการสันดาปกล่าว คือ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้ และมีออกซิเจนในอากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16 ไฟก็ติดขึ้น โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงๆ จนแปลสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่
ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบของการเผาไหม้เป็นรูปแบบพีรามิดของไฟ แต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด การสันดาปก็จะหยุดลง ดังนั้น องค์ประกอบของไฟในการเผาไหม้มีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ
เชื้อเพลิง (Fuel)
คือ วัตถุใดๆ ก็ตามที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้ เช่น ก๊าซ ไม้ กระดาษ น้ำมัน โลหะ พลาสติก เป็นต้น เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะก๊าซจะสามารถลุกไหม้ไฟได้ แต่เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่สามารถลุกไหม้ไฟได้ ถ้าโมเลกุลที่ผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ การที่โมเลกุลของแข็งหรือของเหลวนั้นจะสามารถแปรสภาพกลายเป็นก๊าซได้นั้นจะต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด
ออกซิเจน (Oxygen)
อากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเรา นั้นมีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21% แต่การเผาไหม้แต่ละครั้งนั้นจะต้องการออกซิเจนประมาณ 16% เท่านั้น ดังนั้น จะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในอากาศรอบๆ ตัวเรานั้นจะถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจน ซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ยิ่งถ้าปริมาณออกซิเจนยิ่งมากเชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบเลย
ความร้อน (Heat)
คือ พลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดความคลายไอออกมา
ปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction)
คือ การเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง คือ กระบวนการเผาไหม้ที่เริ่มต้นต้องแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟขึ้น หมายถึง การเกิดปฏิกิริยา กล่าวคือ อะตอมจะถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิง กลายเป็นอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐานของไฟอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเปลวไฟ
บทความที่น่าสนใจ :
- หน้าที่ จป.หัวหน้างาน มีหน้าที่อะไรบ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
- จป.หัวหน้างาน ควรมีการพูดคุยความปลอดภัยก่อนเริ่มทำงานประจำวันอย่างไร
- การทำงานของ Notification Appliance Circuit หรือ NAC
- NFPA 14 : มาตรฐานสำหรับการติดตั้งระบบท่อ
- Wiring Supervision ในระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้
- สถานีไฟฟ้าย่อยประเภท Gas Insulated Substation (GIS)